วันเสาร์ที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2560


บันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่ 3
วันศุกร์ที่ 20 มกราคม 2560
เวลา 08.30 - 12.30 น.
____________________


ความรู้ที่ได้รับ
  • อาจารย์แจกตัวปั๊มการเข้าเรียน
  • เนื้อหาการเรียน

ประเภทของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
-1.กลุ่มเด็กที่มีลักษณะทางความสามารถสูง มีความเป็นเลิศทางสติปัญญาเรียกโดยทั่ว ๆ ไปว่า “เด็กปัญญาเลิศ”
เด็กปัญญาเลิศ (Gifted Child) เด็กที่มีความสามารถทางสติปัญญา มีความถนัดเฉพาะทางสูงกว่าเด็กในวัยเดียวกัน
ลักษณะของเด็กปัญญาเลิศ 
เด็กฉลาด ตอบคำถาม สนใจเรื่องที่ครูสอน ชอบอยู่กับเด็กอายุเท่ากัน ความจำดี เรียนรู้ง่ายและเร็ว เป็นผู้ฟังที่ดี พอใจในผลงานของตน
Gifted ตั้งคำถาม เรียนรู้สิ่งที่สนใจ ชอบอยู่กับผู้ใหญ่ อยากรู้อยากเห็น ชอบคาดคะเน เบื่อง่าย  ชอบเล่าติเตียนผลงานของตน
- 2.กลุ่มเด็กที่มีลักษณะทางความบกพร่อง
1.เด็กที่บกพร่องทางสติปัญญา
2.เด็กที่บกพร่องทางการได้ยิน
3.เด็กที่บกพร่องทางการเห็น
4.เด็กที่บกพร่องทางร่างกายและสุขภาพ
5.เด็กที่บกพร่องทางการพูดและภาษา
6.เด็กที่บกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์
7.เด็กที่บกพร่องทางการเรียนรู้
8.เด็กออทิสติก
9.เด็กพิการซ้อน 
1.เด็กที่บกพร่องทางสติปัญญา หมายถึง เด็กที่มีระดับสติปัญญาหรือเชาว์ปัญญาต่ำกว่าเกณฑ์เฉลี่ย เมื่อเทียบเด็กในระดับอายุเดียวกัน มี 2 กลุ่ม คือ เด็กเรียนช้า และเด็กปัญญาอ่อน 
เด็กเรียนช้า
     - สามารถเรียนในชั้นเรียนปกติได้ 
     - เด็กที่มีความสามารถในการเรียนล่าช้ากว่าเด็กปกติ
     - ขาดทักษะในการเรียนรู้
     - มีความบกพร่องทางสติปัญญาเพียงเล็กน้อย
     - มีระดับสติปัญญา (IQ) ประมาณ 71-90  
- สาเหตุของการเรียนช้า 
1.ภายนอก  เศรษฐกิจของครอบครัว การเข้าเรียนไม่สม่ำเสมอ
2.ภายใน  พัฒนาการช้า การเจ็บป่วย   
เด็กปัญญาอ่อน
     - ระดับสติปัญญาต่ำ
     - พัฒนาการล่าช้าไม่เหมาะสมกับวัย
     - มีพฤติกรรมการปรับตนบกพร่อง
     - อาการแสดงก่อนอายุ 18
- เด็กปัญญาอ่อนแบ่งตามระดับสติปัญญา (IQ) ได้ 4 กลุ่ม
1.เด็กปัญญาอ่อนขนาดหนักมาก IQ ต่ำกว่า 20
2.เด็กปัญญาอ่อนขนาดหนัก IQ 20-34
3.เด็กปัญญาอ่อนขนาดปานกลาง IQ 35-49
4.เด็กปัญญาอ่อนขนาดน้อย IQ 50-70
- ลักษณะของเด็กที่บกพร่องทางสติปัญญา
     - ไม่พูด หรือพูดได้ไม่สมวัย
     - ช่วงความสนใจสั้น วอกแวก 
     - ความคิด และอารมณ์ เปลี่ยนแปลงง่าย รอคอยไม่ได้
     - ทำงานช้า ช่วยตนเองได้น้อยกว่าเด็กในวัยเดียวกัน
     - รุนแรง ไม่มีเหตุผล
     - อวัยวะบางส่วนมีรูปร่างผิดปกติ กล้ามเนื้อทำงานไม่ประสานกัน
ดาวน์ซินโดรม Down Syndrome
- สาเหตุ ความผิดปกติของโครโมโซมคู่ที่ 21ที่พบบ่อยคือโครโมโซมคู่ที่ 21 เกินมา 1 แท่ง (Trisomy 21)
- อาการ  
     - ศีรษะเล็กและแบน คอสั้น ดั้งจมูกแบน 
     - ตาเฉียงขึ้น ปากเล็ก
     - ใบหูเล็กและอยู่ต่ำ เพดานปากโค้งนูน
     - ช่องปากแคบ ลิ้นยื่น ฟันขึ้นช้าและไม่เป็นระเบียบ
     - มือแบนกว้าง นิ้วมือสั้น เส้นลายมือตัดขวาง

2.เด็กที่บกพร่องทางการได้ยิน หมายถึง เด็กที่มีความบกพร่องหรือสูญเสียการได้ยิน เป็นเหตุให้การรับฟังเสียงต่าง ๆ ได้ไม่ชัดเจน
มี 2 ประเภท คือ เด็กหูตึง และ เด็กหูหนวก
เด็กหูตึง 
หมายถึง เด็กที่สูญเสียการได้ยิน แต่สามารถรับข้อมูลได้ โดยใช้เครื่องช่วยฟัง 
- เด็กหูตึงจำแนกกลุ่มย่อยได้ 4 กลุ่ม
1.เด็กหูตึงระดับน้อย ได้ยินตั้งแต่ 26-40 dB
2.เด็กหูตึงระดับปานกลาง ได้ยินตั้งแต่ 41-55 dB
3.เด็กหูตึงระดับมาก ได้ยินตั้งแต่ 56-70 dB
4.เด็กหูตึงระดับรุนแรง ได้ยินตั้งแต่ 71-90 dB
เด็กหูหนวก 
     - เด็กที่สูญเสียการได้ยินมากถึงขนาดที่ทำให้หมดโอกาสที่จะเข้าใจภาษาพูดจากการได้ยิน
     - เครื่องช่วยฟังไม่สามารถช่วยได้
     - ไม่สามารถเข้าใจหรือใช้ภาษาพูดได้ 
     - ระดับการได้ยินตั้งแต่ 91 dB ขึ้นไป 
ระดับทางการได้ยิน
- ลักษณะของเด็กที่บกพร่องทางการได้ยิน
     - ไม่ตอบสนองเสียงพูด เสียงดนตรี มักตะแคงหูฟัง
     - ไม่พูด มักแสดงท่าทาง
     - พูดไม่ถูกหลักไวยากรณ์ 
     - พูดด้วยเสียงแปลก มักเปล่งเสียงสูง
     - มักทำหน้าที่เด๋อเมื่อมีการพูดด้วย

3.เด็กที่บกพร่องทางการเห็น เด็กที่มองไม่เห็นหรือพอเห็นแสงเลือนราง มีความบกพร่องทางสายตาทั้งสองข้าง สามารถเห็นได้ไม่ถึง 1/10 ของคนสายตาปกติ มีลานสายตากว้างไม่เกิน 30 องศาจำแนกได้เป็น 2 ประเภท คือ เด็กตาบอด และ เด็กตาบอดไม่สนิท
เด็กตาบอด
     - เด็กที่ไม่สามารถมองเห็นได้เลย หรือมองเห็นบ้าง
     - ต้องใช้ประสาทสัมผัสอื่นในการเรียนรู้
     - มีสายตาข้างดีมองเห็นได้ในระยะ 6/60,20/200 ลงมาจนถึงบอดสนิท
     - มีลานสายตาโดยเฉลี่ยอย่างสูงสุดแคบกว่า 5 องศา
เด็กตาบอดไม่สนิท
     - เด็กที่มีความบกพร่องทางสายตา
     - สามารถมองเห็นบ้างแต่ไม่เท่ากับเด็กปกติ 
     - เมื่อทดสอบสายตาข้างดีจะอยู่ในระดับ 6/18, 20/60, 6/60, 20/200 หรือน้อยกว่านั้น 
     - มีลานสายตาโดยเฉลี่ยอย่างสูงสุดกว้างไม่เกิน 30 องศา
- ลักษณะของเด็กบกพร่องทางการเห็น
     - เดินงุ่มง่าม ชนและสะดุดวัตถุ มองเห็นสีผิดไปจากปกติ
     - มักบ่นว่าปวดศีรษะ คลื่นไส้ ตาลาย คันตา
     - ก้มศีรษะชิดกับงาน หรือของเล่นที่วางอยู่ตรงหน้า
     - เพ่งตา หรี่ตา หรือปิดตาข้างหนึ่ง เมื่อใช้สายตา
     - ตาและมือไม่สัมพันธ์กัน และแยกแยะสิ่งที่เป็นรูปร่างทางเรขาคณิต

การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
  • สามารถนำความรู้ที่จากการเรียนเด็กที่มีลักษณะทางความบกพร่องในแต่ละด้านไปช่วยเหลือเด็กได้อย่างถูกต้อง และมีความรู้ความเข้าใจมากยิ่งขึ้น
การประเมินผล
  • ประเมินตนเอง  ตั้งใจเรียน แต่มีบางที่แอบหลับ
  • ประเมินเพื่อน  เพื่อนในห้องตั้งใจเรียน ช่วยกันตอบคำถามมีอาจารย์ถาม
  • ประเมินอาจารย์   อาจารย์มีการเตรียมความพร้อมในเนื้อหาบทเรียน และสื่อการสอนมาเป็นอย่างดี พร้อมยกตัวอย่างให้ดูเสมอ












ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น