วันอาทิตย์ที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2560


บันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่  10
วันศุกร์ที่ 19 มีนาคม 2560
เวลา 08.30 - 12.30 น.
____________________

ความรู้ที่ได้รับ
  • เนื้อหาการเรียน
ประเภทของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ (ต่อ)
8.เด็กที่บกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์ 
มีความรู้สึกนึกคิดที่ผิดไปจากปกติ
แสดงออกถึงความต้องการทำร้ายตนเองหรือผู้อื่น
มีความเชื่อมั่นในตนเองต่ำ
เด็กที่มีการควบคุมอารมณ์ให้อยู่ในสภาพปกตินานๆ ไม่ได้
ลักษณะของเด็กบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์
     - ความวิตกกังวล (Anxiety) ซึ่งทำให้เด็กมีนิสัยขี้กลัว
     - ภาวะซึมเศร้า (Depression) มีความเศร้าในระดับที่สูงเกินไป
     - ปัญหาทางสุขภาพ และขาดแรงกระตุ้นหรือความหวังในชีวิต
การจำแนกเด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์ ตามกลุ่มอาการ
1.ด้านความประพฤติ (Conduct Disorders)
ภาพตัวอย่างผลงาน
2.ด้านความตั้งใจและสมาธิ (Attention and Concentration)
3.สมาธิสั้น (Attention Deficit)
     - มีลักษณะกระวนกระวาย ไม่สามารถนั่งนิ่งๆ ได้หยุกหยิกไปมา
     - พูดคุยตลอดเวลา มักรบกวนหรือเรียกร้องความสนใจจากผู้อื่น
     - มีทักษะการจัดการในระดับต่ำ
4.การถอนตัวหรือล้มเลิก (Withdrawal)
5.ความผิดปกติในการทำงานของร่างกาย(Function Disorder)
- ภาวะความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์ระดับรุนแรง
     - ขาดเหตุผลในการคิด
     - อาการหลงผิด (Delusion)
     - อาการประสาทหลอน (Hallucination)
     - พฤติกรรมการทำร้ายตัวเอง
- สาเหตุ
ปัจจัยทางชีวภาพ (Biology)
ปัจจัยทางจิตสังคม (Psychosocial)
- ผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อเด็ก
ไม่สามารถเรียนหนังสือได้เช่นเด็กปกติ
รักษาความสัมพันธ์กับเพื่อนหรือกับครูไม่ได้ 
มีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม เมื่อเทียบกับเด็กในวัยเดียวกัน
มีความคับข้องใจ มีความเก็บกดอารมณ์
แสดงอาการทางร่างกาย เช่น ปวดศีรษะ ปวดตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย 
มีความหวาดกลัว
เด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรม ซึ่งจัดว่ามีความรุนแรงมาก
เด็กสมาธิสั้น (Children with Attention Deficit and Hyperactivity Disorders)
เด็กออทิสติก (Autistic) หรือ ออทิสซึ่ม (Autisum)

เด็กสมาธิสั้น(Children with Attention Deficit Hyperactivity Disorders) เป็นภาวะผิดปกติทางจิตเวชมีลักษณะเด่นอยู่ 3 ประการ 
     1.Inattentiveness (สมาธิสั้น)
     2.Hyperactivity (ซนอยู่ไม่นิ่ง)
     3.Impulsiveness (หุนหันพลันแล่น)
- สาเหตุ
     - ความผิดปกติของสารเคมีบางชนิดในสมอง
เช่น โดปามีน (dopamine) นอร์อิพิเนฟริน (norepinephrine)
     - ความผิดปกติในการทำงานของวงจรที่ควบคุมสมาธิ และการตื่นตัวอยู่ที่สมองส่วนหน้า (frontal cortex)
     - พันธุกรรมสิ่งแวดล้อมเป็นพิษ
ยารักษาโรคสมาธิสั้น
- ลักษณะของเด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์
     - อุจจาระ ปัสสาวะรดเสื้อผ้า หรือที่นอน
     - ยังติดขวดนม หรือตุ๊กตา และของใช้ในวัยทารก
    - ดูดนิ้ว กัดเล็บ หงอยเหงาเศร้าซึม การหนีสังคม
    - เรียกร้องความสนใจ อารมณ์หวั่นไหวง่ายต่อสิ่งเร้า
    - ขี้อิจฉาริษยา ก้าวร้าว ฝันกลางวัน พูดเพ้อเจ้อ


9.เด็กพิการซ้อน
เด็กที่มีความบกพร่องที่มากกว่าหนึ่งอย่างเป็นเหตุให้เกิดปัญหาขัดข้องในการเรียนรู้อย่างมาก
เด็กปัญญาอ่อนที่สูญเสียการได้ยิน
เด็กปัญญาอ่อนที่ตาบอด
- เด็กที่ทั้งหูหนวกและตาบอด  
การแสดงตัวอย่าง
คลิป VDO บำบัด
การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
  • สามารถนำเอาความรู้ความเข้าใจที่เรียนไปปรับใช้ในการสอนเด็กอย่างถูกวิธี มีแนวทางในการจัดกิจกรรมบำบัดเด็กสมาธิสั้นและเด็กพิการซ้ำซ้อน
การประเมินผล
  • ประเมินตนเอง  ตั้งใจเรียน ยิ้มแย้มแจ่มใส ออกไปแสดงหน้าชั้นเรียน
  • ประเมินเพื่อน  เพื่อนในห้องตั้งใจเรียน 
  • ประเมินอาจารย์   อาจารย์มีการเตรียมความพร้อมในเนื้อหาบทเรียน และสื่อการสอนมาเป็นอย่างดี พร้อมยกตัวอย่างให้ ยิ้มแย้มแจ่มใส แต่งกายสุภาพ

-





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น