วันเสาร์ที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2560



บันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่ 2
วันศุกร์ที่ 13 มกราคม 2560
เวลา 08.30 - 12.30 น.
____________________


ความรู้ที่ได้รับ
  • อาจารย์แนะนำรายวิชาการจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัยและแจกใบปั๊มการเข้าเรียน
  • เนื้อหาการเรียน  
เด็กที่มีความต้องการพิเศษ (Children with special needs )
- ความหมายของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
1. ทางการแพทย์ มักจะเรียกเด็กที่มีความต้องการพิเศษว่า “เด็กพิการ” หมายถึง เด็กที่มีความผิดปกติ 
มีความบกพร่องสูญเสียสมรรถภาพ อาจเป็นความผิดปกติความบกพร่องทางกายการสูญเสียสมรรถภาพทางสติปัญญา ทางจิตใจ
2. ทางการศึกษา ให้ความหมายเด็กที่มีความต้องการพิเศษว่าหมายถึง เด็กที่มีความต้องการทางการศึกษาเฉพาะของตัวเอง ซึ่งจำเป็นต้องจัดการศึกษาให้ต่างไปจากเด็กปกติทางด้านเนื้อหา หลักสูตร กระบวนการที่ใช้ และการประเมินผล 

- เด็กที่มีความบกพร่องทางพัฒนาการ
1.เด็กที่มีพัฒนาการล่าช้ากว่าเด็กปกติในวัยเดียวกัน
2.พัฒนาการล่าช้าอาจพบเพียงด้านใดด้านหนึ่ง หลายด้าน หรือทุกด้าน
3.พัฒนาการล่าช้าในด้านหนึ่งอาจส่งผลให้พัฒนาการในด้านอื่นล่าช้าด้วยก็ได้

- ปัจจัยที่มีผลต่อพัฒนาการเด็ก
1.ปัจจัยทางด้านชีวภาพ 
2.ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมก่อนคลอด     
3.ปัจจัยด้านกระบวนการคลอด      
4.ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมหลังคลอด 

- สาเหตุที่ทำให้เกิดความบกพร่องทางพัฒนาการ
1. พันธุกรรม เด็กจะมีพัฒนาการล่าช้ามักมีลักษณะผิดปกติแต่กำเนิดร่วมด้วย 
Cleft Lip / Cleft Palate โรคปากแวงเพดานโว
โรคธาลัสซีเมีย
2. โรคของระบบประสาท เด็กที่มีความบกพร่องทางพัฒนาการส่วนใหญ่มักมีทางระบบประสาทร่วมด้วย ที่พบบ่อยคืออาการชัก
3. การติดเชื้อ การติดเชื้อตั้งแต่อยู่ในครรภ์ น้ำหนักตัวแรกเกิดน้อย ศีรษะเล็กกว่าปกติ อาจมีตับม้ามโต การได้ยินบกพร่อง ต้อกระจก
4. ความผิดปกติเกี่ยวกับเมตาบอลิซึม โรคที่ยังเป็นปัญหาสาธารณสุขไทย คือ ไทรอยด์ฮอร์โมนในเลือดต่ำ 
5. ภาวะแทรกซ้อนระยะแรกเกิด เกิดก่อนกำหนด น้ำหนักตัวแรกเกิดน้อยและภาวะขาดออกซิเจน
6. สารเคมี 
ตะกั่ว เป็นสารที่มีผลกระทบต่อเด็กและมีการศึกษามากที่สุดมีอากาศซึมเศร้า เคลื่อนไหวช้า ผิวดำหมองคล้ำเป็นจุดๆ ภาวะตับเป็นพิษ ระดับสติปัญญาต่ำ
แอลกอฮอล์ น้ำหนักแรกเกิดน้อย มีอัตราการเพิ่มน้ำหนักหลังเกิดน้อย ศีรษะเล็ก พัฒนาการของสติปัญญาก็มีความบกพร่อง เด็กบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์
นิโคติน น้ำหนักแรกเกิดน้อย ขาดสารอาหารในระยะตั้งครรภ์ เพิ่มอัตราการตายในวัยทารก สติปัญญาบกพร่อง สมาธิสั้น พฤติกรรมก้าวร้าว มีปัญหาด้านการเข้าสังคม
7. การเลี้ยงดูที่ไม่เหมาะสมรวมทั้งการขาดสารอาหาร
8. สาเหตุอื่นๆ

- แนวทางการวินิจฉัยเด็กที่มีความบกพร่องทางพัฒนาการ
1. การซักประวัติ
2. การตรวจร่างกาย
3. การสืบค้นทางห้องปฏิบัติการ
4.การประเมินพัฒนาการ

การประเมินที่ใช้ในเวชปฏิบัติ
1.แบบทดสอบ Denver II 
2.Gesell Drawing Test 
3.แบบประเมินพัฒนาการเด็กตามคู่มือส่งเสริมพัฒนาการเด็กอายุแรกเกิด - 5 ปี สถาบันราชานุกูล
Gesell Drawing Test แบบทดสอบ IQ

การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
  • สามารถนำความรู้ที่ได้จากการเรียนเด็กที่มีความต้องการพิเศษไปพัฒนาความสามารถในการช่วยเหลือเด็ก และการสอนตามปกติได้ 
การประเมินผล
  • ประเมินตนเอง  ตั้งใจเรียน จดบันทึกที่อาจารย์สอน
  • ประเมินเพื่อน  เพื่อนในห้องตั้งใจเรียน ช่วยกันตอบคำถามมีอาจารย์ถาม
  • ประเมินอาจารย์   อาจารย์มีการเตรียมความพร้อมในเนื้อหาบทเรียน และสื่อการสอนมาเป็นอย่างดี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น